รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ

รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ (Purchasing Managers Index)
ดัชนี PMI เป็นดัชนีที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและภาคการบริการ ย่อมาจาก Purchasing Managers Index หรือก็คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นตัวเลขที่รายงานเพื่อให้ข้อมูลทางด้านสภาวะทางเศรษฐกิจต่อนักลงทุน นักวิเคราะห์ และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเป็นการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการฝ่ายจัดซื้อภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นการสำรวจผ่าน 5 ตัวแปรหลัก ประกอบด้วย ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยจะสอบถามรวมไปถึงสภาพธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงทั้งดีขึ้น เท่าเดิม หรือแย่ลง


หากกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มจะเติบโตในช่วง 1 ไตรมาสหน้า ทางผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อย่อมต้องเร่งสั่งซื้อวัตถุติบตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น หากผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบ่งชี้ว่า มีการซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ย่อมแสดงถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ


การใช้ดัชนี PMI นอกจากสะท้อนสภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิต และบริการในปัจจุบันแล้ว ยังสะท้อนมุมมองสภาพเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย โดยดัชนีนี้จะมีค่าอยู่ที่ 0 – 100 โดยหากค่าตัวเลขที่ออกมามีค่าเกิน 50 จะเป็นตัวชี้วัดว่าระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัว และจะไปหนุน USD แต่ถ้าตัวเลขใดออกมาต่ำกว่า 50 จะมีมุมมองว่าเศรษฐกิจหดตัว และมีแนวโน้มจะไปกดดันในส่วนของ USD

โดยตัวเลขที่ผ่านมาในช่วงเดือนก่อนหน้า จะเห็นว่าค่าจริงที่ออกมาจากฝั่งภาคการผลิต อยู่ที่ 47.9 ซึ่งบ่งบอกว่า ฝั่งของภาคการผลิตนั้นขยายตัวไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น ส่วนภาคการบริการอยู่ที่ 55.7 ซึ่งแสดงถึงแนวโน้มว่ายังคงมีการขยายตัวอยู่เเต่ไม่ได้มากนัก เเต่ทั้งสองภาคทั้งการผลิตกับภาคการบริการ มีค่าที่บ่งชี้ไปในคนละทิศทาง แสดงถึงความไม่แน่นอนในภาพรวมของสภาวะทางเศรษฐกิจ ซึ่งค่าในครั้งนี้ที่กำลังจะออกมาตอนช่วง 20.45 รอบนี้ ด้านภาคการผลิตค่าคาดการณ์อยู่ที่ 48.6 และด้านภาคการบริการ มีค่าคาดการณ์อยู่ที่ 55.3 ซึ่งมองในมุมเศรษฐกิจตัวเลขคาดการณ์อาจบ่งบอกถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่แย่ลงเล็กน้อยครับ

โค้ชนนท์

แบ่งปั่นบทความ

บทความที่น่าสนใจ

ข่าว Forex Non-Farm Payroll 10/01/2025 หรือ การจ้างงานนอกภาคเกษตร

ข่าว Forex ตัวเลข Non-Farm Payroll หรือ การจ้างงานนอกภาคเกษตร จะวัดจำนวนคนงานในสหรัฐอเมริกา ยกเว้นคนงานในภาคเกษตรกรรม ครัวเรือนส่วนตัว พนักงานองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และทหารที่ประจำการ โดยรายงานจะจัดทำโดย สำนักงานสถิติแรงงาน (Bureau of Labor Statistics) โดยจะสำรวจหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั่วสหรัฐอเมริกาเพื่อรับข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือนของพวกเขา ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมจะถูกรายงานต่อสาธารณะทุกๆ วันศุกร์แรกของเดือน  เรามาทำความเข้าใจเรื่อง Nonfarm Payroll กันจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ การจัดประเภทพนักงานนอกภาคเกษตรคิดเป็นประมาณ 80% ของภาคธุรกิจของสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนทำให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ดังนั้นการรายงานตัวเลขนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ข่าว ฟอเร็กซ์ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) : หากตัวเลขที่ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มักทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เพราะจะสื่อถึงว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ แข็งแกร่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หากต่ำกว่าที่คาดการณ์ ค่าเงินดอลลาร์อาจอ่อนตัวลง ตลาดหุ้น : หากรายงานตัวเลขที่ออกมาแข็งแกร่ง อาจส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เพราะมันบ่งบอกถึงความเจริญทางเศรษฐกิจและความสามารถของบริษัทในการขยายธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวเลขสูงเกินไป อาจทำให้นักลงทุนกังวลเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่เร็วขึ้น ก็สามารถส่งผลลบต่อหุ้นได้ ทองคำ (XAUUSD) : ทองคำมักจะมีความสัมพันธ์ทางลบกับค่าเงินดอลลาร์ หากค่าที่ออกมาดีกว่าคาด ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำร่วงลง ในทางกลับกัน หากรายงานตัวเลขต่ำกว่าที่คาดการณ์ ทองคำอาจปรับตัวขึ้นได้ โดยรายงานในเดือนที่ผ่านมา ตัวเลขออกมาที่ 227 K ตำแหน่ง มากกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย รอบที่ผ่านมาถือว่าตัวเลขมีความผันผวนไม่มากนัก ซึ่งในสัปดาห์นี้ตัวเลขคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ออกมาที่ 164 K ตำแหน่ง ซึ่งปรับตัวลดลงมากจากครั้งที่แล้ว ซึ่งมุมมองจากค่าคาดการณ์อาจสื่อถึงการจ้างงานในสหรัฐเลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับในเดือนก่อนหน้า ซึ่งการประกาศรอบนี้เป็นการประกาศตัวเลขของเดือนธันวาคมปีที่เเล้ว ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปี ทำให้การประกาศตัวเลขในครั้งนี้ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากความผันผวนที่สามารถคาดเดาได้ยากดังรอบที่ผ่านๆมาครับ โค้ชนนท์ พงศ์พล สุภกรรม

ข่าวรายวัน

JOLTs : Job Openings and Labor Turnover Survey 07/01/2025

คือการรายงานหรือการสำรวจตำแหน่งว่างงานใหม่ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศออกมาเป็นรายเดือน ซึ่งดำเนินการโดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ เพื่อเป็นเกณฑ์ในการบ่งบอกอัตราตำแหน่งว่างงานในเดือนนั้นๆ โดยข้อมูลที่ประกาศออกมาจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ว่างในตลาดแรงงาน รวมถึงการหมุนเวียนแรงงาน โดยตัวเลขตำแหน่งว่างงานจะเป็นตำแหน่งทั้งหมดที่เปิดรับสมัคร ในวันทำการสุดท้ายของเดือน ซึ่งไม่รวมฝั่งอุตสาหกรรมการเกษตร โดยตัวเลขนี้จำชี้วัดตำแหน่งงานที่ว่าง ที่ยังไม่ได้รับการจ้างคนเข้าไปทำงาน ตัวเลข JOLTs นี้มีความสำคัญคือการให้ภาพรวมที่ครอบคลุมของตลาดแรงงานมากกว่าข้อมูลอัตราว่างงานรายสัปดาห์ มักจะถูกใช้เป็นหนึ่งในมาตรวัดสำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นเราจะเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่มีประกาศตัวเลขนี้ กราฟมักจะมีความผันผวนเสมอ ซึ่งหากค่าประกาศออกมามากกว่าที่คาดการณ์ หรือว่างงานน้อยกว่าคาด จะเป็นการส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งก็จะกดดันให้ราคาทองคำปรับตัวลงได้ แต่หากค่าออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ หรือว่างงานมากกว่าที่คาด จะเป็นการกดดันค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งก็จะเป็นผลบวกต่อทอง จากตัวเลขที่ออกมาล่าสุด จะเห็นว่าตำแหน่งว่างงานใหม่ของสหรัฐนั้นมีการเพิ่มขึ้นจากรอบเดือนพฤศจิกายนพอสมควรที่ 7.744 ล้านตำแหน่ง โดยในวันนี้ เป็นค่าของเดือนธันวาคมปีที่เเล้ว โดยค่าที่คาดการณ์ออกมาจากนักวิเคราะห์มองว่าจะตำแหน่งว่างงานใหม่มีโอกาสลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 7.730 ล้านตำแหน่ง ซึ่งถ้าออกมาตามคาดจริงก็จะแสดงถึงว่าตลาดแรงงานจะถือว่าจะอ่อนเเอลงเล็กน้อย ดังนั้นเราอยากให้โฟกัสตัวเลขที่จะประกาศออกมาในคืนนี้ให้ดีด้วยครับ เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานเหล่านีจะเชื่อมโยงไปยังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ได้ นนท์ พงศ์พล สุภกรรม

ข่าวรายวัน

รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) วันที่ 19/12/2024

GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยเป็นการที่นับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม โดย GDP จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น ไม่นับรายได้ที่ต่างประเทศ ถ้าหากค่า GDP ออกมาเป็นบวก แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขึ้น มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งที่อาจตามมาได้ คือ อัตราเงินเฟ้อที่อาจจะสูงขึ้นได้เช่นกัน เพราะเมื่อคนมีความต้องการซื้อกันมากขึ้น สามารถดันให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นมาได้ ถ้าหากค่า GDP ออกมาเป็นลบ แสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีการชะลอตัวลง มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อ GDP คือ ค่าที่ใช้วัดความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ดังนั้น ถ้าหากค่า GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จะถือว่าเป็นลักษณะเชิงบวกต่อสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะกดดันให้ราคาทองปรับตัวลงได้ และในขณะที่ค่า GDP ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ถือว่าเป็นลักษณะเชิงลบ สำหรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาทองปรับตัวขึ้นได้ ในคืนนี้ ค่า GDP ที่จะประกาศออกมาจะเป็นค่า GDP แบบ Preliminary ซึ่งเป็นตัวเลขที่เกิดจากการเก็บข้อมูลดิบ โดยตัวเลขที่จะประกาศวันนี้จะเป็นตัวเลข Final GDP ซึ่งภาพรวมคาดการณ์ GDP ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์กันไว้ที่ 2.8% ซึ่งถือว่าเท่ากับรอบ Preliminary พอดี ซึ่งถ้าออกมาตามคาด ราคาสินทรัพย์ต่างๆน่าจะไม่ผันผวนมากครับ โค้ชนนท์ พงศ์พล สุภกรรม

ข่าวรายวัน
Message us