ดัชนี PMI เป็นดัชนีที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการบริการ ย่อมาจาก Purchasing Managers Index หรือก็คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นตัวเลขที่รายงานเพื่อให้ข้อมูลทางด้านสภาวะทางเศรษฐกิจต่อนักลงทุน นักวิเคราะห์ และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะเป็นการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการฝ่ายจัดซื้อภาคเอกชน โดยครั้งนี้จะเป็นการรายงานเกี่ยวกับภาคการบริการซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากภาคการผลิตเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า
หากกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะมีแนวโน้มจะเติบโตในช่วง 1 ไตรมาสหน้า ทางผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อย่อมต้องเร่งสั่งซื้อวัตถุติบตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น หากผลสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบ่งชี้ว่า มีการซื้อวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น ย่อมแสดงถึงแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การใช้ดัชนี PMI นอกจากสะท้อนสภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิต และบริการในปัจจุบันแล้ว ยังสะท้อนมุมมองสภาพเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย โดยดัชนีนี้จะมีค่าอยู่ที่ 0 – 100 โดยหากค่าตัวเลขที่ออกมามีค่าเกิน 50 จะเป็นตัวชี้วัดว่าระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัว และจะไปหนุน USD แต่ถ้าตัวเลขใดออกมาต่ำกว่า 50 จะมีมุมมองว่าเศรษฐกิจหดตัว และมีแนวโน้มจะไปกดดันในส่วนของ USD
โดยตัวเลขที่ผ่านมาในช่วงเดือนก่อนหน้า จะเห็นว่าค่าจริงที่ออกมาจะเห็นว่าค่าจากสถาบัน ISM จะออกมาต่ำกว่าทางสถาบัน S&P Global เเต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50 หน่วย ซึ่งบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ได้เเย่ลงมากนัก ซึ่งจากคาดการณ์รอบนี้จะเห็นว่าทั้งสองสถาบันยังคงให้มุมมองที่ 55.3 (S&P Global) และ 53.7 (ISM) ซึ่งแสดงถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตเล็กน้อย เเต่ด้วยความผันผวนในการประกาศตัวเลขรอบที่ผ่านมา ทำให้ในรอบนี้นักลงทุนอาจต้องติดตามค่าที่จะออกมาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะค่าคาดการณ์จากทั้งสองแหล่งมองว่าจะออกมาไม่เท่ากันด้วย
โค้ชนนท์